top of page

แม่น้ำโขง เปรียบเหมือนสายธารแห่งชีวิตของผู้คนที่อยู่ริมสองฝั่ง ได้อาศัยและใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายนี้ในหลากหลายรูปแบบต่างกันไป ความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำโขงทำให้ชาวบ้านห้วยลึกสามารถจับปลาได้จำนวนมากพอจนเป็นอาชีพหลักได้ ซึ่งในอดีตอาชีพชาวประมงพื้นบ้านหรือที่เรียกว่า พรานปลา ถือว่าเป็นอาชีพหลักที่สามารถสร้างรายได้สำหรับเลี้ยงครอบครัวของชาวบ้านห้วยลึกได้เป็นอย่างดี

IMG_5360.HEIC

การที่ชุมชนตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขง ความอุดมสมบูรณ์ของสายน้ำจึงเป็นแหล่งอาหารและรายได้ในการดำรงชีวิตที่สำคัญของชาวบ้าน

 

อดีตเราเป็นชุมชนที่จับปลาในแม่น้ำโขงเพื่อใช้เลี้ยงชีพ เรามีเรือใช้หาปลา 50-60 ลำ

- พี่เอก - 

พรานปลาบ้านห้วยลึก

 

 

ปัจจุบันเรือออกหาปลาเหลือประมาณแค่ 10 กว่าลำ เมื่อเขาปล่อยน้ำจากลงมาด้านบนพื้นที่หาปลาและอุปกรณ์ที่ใช้หาปลาลอยหายไปกับแม่น้ำโขง 

- พี่พงษ์ -

ชาวบ้านห้วยลึก

 การเกิดขึ้นของโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ในแม่น้ำโขงตอนบน ทำให้มีการควบคุม กักเก็บ และปล่อยน้ำมายังบริเวณแม่น้ำโขงตอนล่างที่ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ และมีการสร้างแนวเขื่อนป้องกันตลิ่งเพื่อป้องกันการกัดเซาะตลอดแนวริมแม่น้ำโขง 

 

การพัฒนาเหล่านี้ทำให้การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่เป็นไปตามฤดูกาล ทำให้พันธุ์ปลาและสิ่งมีชีวิตอื่นๆในแม่น้ำโขงไม่อุดมสมบูรณ์เฉกเช่นในอดีต ส่งผลกระทบต่อวิถีประมงพื้นบ้านอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้พรานปลาจำนวนมาก จำเป็นต้องละทิ้งวิถีประมงที่หมู่บ้านได้สืบทอดมาตั้งแต่ในอดีต และการจับปลาแม่น้ำโขงไม่ใช่อาชีพหลักของชาวบ้านห้วยลึกอีกต่อไป

bottom of page