top of page

วิถีและเครื่องมือหาปลา

วิถีพรานปลา

This is your Team section. Briefly introduce the team then add their bios below. Click here to edit.

เรือ

พาหนะสำคัญในการหาปลา 

เรือมีลักษณะที่ขนาดเรียวยาว เนื่องจาก แม่โขงมีความเชี่ยว จึงต้องใช้เรือลักษณะนี้

IMG_6407.JPG

ซ้อน

เป็นเครื่องมือหาปลาประเภทหนึ่ง ที่ชาวบ้านห้วยลึกนำมาใช้ช่วงฤดูน้ำเต็มตลิ่ง แต่ไม่มีการใช้อุปกรณ์ชนิดนี้แล้วในปัจจุบัน เนื่องจากความไม่แน่นอนของระดับน้ำ ที่เกิดจากโครงการพัฒนาในแม่น้ำโขงตอนบน

IMG_5360.HEIC

ไหลมอง

เป็นวิธีการหาปลาที่พบเห็นมากที่สุดในในปัจจุบัน เพราะเป็นเครื่องมือที่สามารถใช้จับปลาได้ตลอดทั้งปี

การหาปลาโดยการไหลมองและซ้อน

IMG_6407_edited.jpg

ซ้อน

การใช้ซ้อนเพื่อจับปลาในแม่น้ำโขง พรานปลาที่ออกไปหาปลาด้วยกันเป็นคู่จะต้องเข้าใจจังหวะการทำงานระหว่างกันแบบ “แค่มองตาก็รู้ใจ” พรานปลาที่ถือซ้อนอยู่ยังต้องมีประสาทสัมผัสที่รวดเร็ว รับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนของปลาที่เข้ามาโดนตาข่าย เมื่อปลาเข้ามาติดที่ตาข่ายแล้ว พรานปลาที่ถือซ้อนจะต้องยกซ้อนขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ระหว่างนั้นพรานปลาอีกคนต้องบังคับเรือให้มีสมดุลเพื่อช่วยให้พรานปลายกซ้อนได้ง่ายขึ้น

แต่ในปัจจุบัน ระดับน้ำของแม่น้ำโขงที่ขึ้นลงอย่างไม่เป็นไปตามธรรมชาติเหมือนในอดีต เป็นผลสืบเนื่องจากโครงการพัฒนาในแม่น้ำโขงตอนบน ทำให้เครื่องมือหาปลาอย่าง "ซ้อน" ไม่ค่อยมีพรานปลาใช้อีกต่อไปแล้ว นี่อาจสะท้อนผลกระทบต่อการสืบทอดเครื่องมือหาปลาในชุมชนด้วยเช่นกัน

การไหลมอง ทำได้เฉพาะบริเวณที่ไม่มีเกาะแก่งหรือดอนหิน ชาวบ้านห้วยลึกสามารถไหลมองจับปลาได้ตลอดทั้งปี ซึ่งเป็นวิถีการจับปลาในแม่น้ำโขงรูปแบบหนึ่งที่ยังคงสืบทอดกันมา ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขง ที่ทำให้จำนวนปลาลดลง

"ตราบเท่าที่จีนยังปล่อยน้ำในแม่น้ำโขงออกมาเท่าเดิม แม้ปลาโจก ปลากวง ปลาแข้ และปลาอื่นๆ ขึ้นมาวางไข่พอให้ได้จับ แต่ก็ไม่มากเท่าก่อนหน้านี้ "

พี่เอก

พรานปลา บ้านห้วยลึก

IMG_6428.JPG
IMG_9844 (1).JPG

"เขตอนุรักษ์พันธุ์ปลา
บ้านห้วยลึก"

เขตอนุรักษ์พันธุ์ปลา บ้านห้วยลึก

ก่อร่างและสร้างขึ้นมาด้วยการร่วมแรงร่วมใจกันของชาวบ้าน

เนื่องจาก ความยาวตลอดริมแม่น้ำโขงของหมู่บ้านห้วยลึก รวมได้ระยะทางประมาณ 300 เมตร และความกว้างนับจากฝั่งออกไปประมาณ 15 เมตร เหมาะสมกับการเป็นพื้นที่ปลอดภัยในการอนุรักษ์พันธุ์ปลา และสามารถปล่อยให้ปลาขยายพันธ์ุเองตามธรรมชาติได้อย่างเต็มที่ ชาวบ้านห้วยลึกจึงได้ร่วมกันกำหนดขอบเขตพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์พันธุ์ปลาขึ้นมา

 

รวมถึงความพยายามกระตุ้นและสร้างจิตสำนึก เพื่อให้ชาวบ้านห้วยลึกยังคงช่วยกันรักษาพันธุ์ปลาและดูแลพื้นที่ที่ปลาอาศัยในเขตของหมู่บ้าน ผ่านพิธีกรรมทำบุญเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลา การปล่อยปลา และให้อาหารปลา

 

ความพยายามอนุรักษ์พันธุ์ปลาของชาวบ้านห้วยลึกนี้ ส่งผลให้ในช่วงที่ไม่ใช่ฤดูจับปลา พรานปลาบ้านห้วยลึกยังคงสามารถทำประมงพื้นบ้านได้ 

ปัจจุบันปลาแม่น้ำโขงลดน้อยลงมาก เป็นผลสืบเนื่องจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ในแม่น้ำโขงตอนบน

IMG_6408.JPG

งานชิ้นนี้หวังว่าจะบอกเล่าถึงพรานปลาบ้านห้วยลึก กลุ่มคนตัวเล็กๆ ที่กำลังเผชิญกับการพัฒนาที่กลายเป็นผลกระทบต่อปากท้องและรายได้ของพวกเขาได้เช่นกัน

ปลาแม่น้ำโขงทอดกรอบ กินกับข้าวเหนียวร้อน ๆ ขนาดกำลังพอดีคำ และน้ำพริกน้ำผักใส่หนังความสูตรเฉพาะของบ้านห้วยลึก แนมด้วยผักลวก อาหารท้องถิ่นจากวัตถุดิบธรรมชาติในชุมชนมื้อที่ดูจะธรรมดานี้ กลับห้อมล้อมและอบอวลไปด้วย      วิถีชีวิต รอยยิ้ม และมิตรไมตรีต่อคนต่างถิ่น

bottom of page